มาตรฐาน ปลั๊กพ่วง ฉบับใหม่ล่าสุด
ปลั๊กพ่วง หรือที่เราเรียกกันว่าปลั๊กสามตานั้น มีใช้กันอย่างแพร่หลายในไทยจำนวนมากและวัสดุ หรืออุปกรณ์บางอย่าง เป็นอันตรายต่อการใช้งาน ทำให้เกิดปัญหาไฟไหม้อยู่บ่อยครั้ง ทาง สมอ. จึงออกมาตรฐานใหม่นี้ขึ้นมา เพื่อลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นผู้ใช้งาน ควรจะต้องมีความรู้ในการเลือกใช้งาน ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด โดยมีขั้นตอนในการสังเกตดังนี้
มอก.2432-2555 กำหนดใช้ 24 กุมภาพันธ์ 2561
- มอก.ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้ รวมถึงชุดสายพ่วง
- ขอบข่ายการใช้คือ มากกว่า 50V แต่ไม่ถึง 440V และขอบข่ายของแอมแปร์ห้ามมากกว่า 16A สำหรับการใช้งานภายในและภายนอกอาคาร
- มาตรฐานการใช้งานปลั๊กพ่วงคือ อุณหภูมิภายนอกห้ามเกิน 40 องศาองศาเซลเซียส และถ้าใช้งาน 24 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยโดยรอบห้ามเกิน 35 องศาเซลเซียส
-
กำหนดให้หัวปลั๊กต้องใช้เป็นแบบ 3 ขา มอก.166-2549 เท่านั้น
- ตัวบอดี้ จะต้องเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ หรือใส่สารกันลุกติดลามไฟ
- ตัวเต้ารับจะต้องสอดคล้องกับ มอก. 166-2549 และมีม่านชัทเตอร์ปิดทุกเต้า (แบบในรูป)
- ปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 เต้าขึ้นไป จะต้องมีตัวตัดไฟ อาจจะเป็นแบบ RCBO หรือระบบ Thermal โดยห้ามใช้ระบบฟิวส์
- สายไฟ สามารถใช้มาตรฐานมอก. 11-2553 หรือ มาตรฐานอื่นที่สอดคล้องกับ มอก.955 ได้
- เต้ารับทุกเต้าจะต้องมีส่วนที่สัมผัสลงดินจริง ห้าม! ทำกราวด์หลอกอีกต่อไป
- พื้นที่หน้าตัดสายไฟ และความยาว การรองรับไฟ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานตารางด้านล่าง
- การเชื่อมต่อ L - N และ G ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศไทย
- ถ้ามีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวิตช์ ตัวกรองความถี่ อุปกรณ์กันแรงดันเกิน ควรได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย
จริงๆ ระเบียบของ มอก.ปลั๊กพ่วงจะมีข้อมูลมากกว่านี้ โดยเฉพาะขั้นตอนการทดสอบ แต่ในฐานะผู้บริโภคนั้น รู้เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับผม หลักๆ ก็คือ "ปลั๊กที่ใช้ฟิวส์ที่ใช้ขา 2 ขา แบบที่เราคุ้นตา" ปีหน้าเขาห้ามผลิตเพิ่มแล้วนะครับ ยังสามารถขายต่อได้จนกว่าจะหมด แต่ต้องรายงานสต๊อกต่อ สมอ. ห้ามผลิตเพิ่มค่ะ
1. สำหรับผู้ค้าและผู้ขาย ?
หลังจาก มอก. ปลั๊กพ่วงมีผลบังคับใช้สินค้าสต็อกเก่า สามารถจำหน่ายได้จนหมด แต่ห้ามนำเข้าสต็อกใหม่ หรือห้ามผลิตใหม่ถ้าไม่ได้รับตราเครื่องหมาย มอก.หากพบว่ามีการกระทำผิดจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายทันที สำหรับบทลงโทษในกรณีทำ หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. สำหรับผู้ผลิต ?
จะต้องมีการทดสอบสินค้า หลังจากผลิตเสร็จแล้ว โดยต้องใช้เครื่องทดสอบความปลอดภัยอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Hi-pot Tester, Safety Electrical Tester