Ultra Engineering : บริษัท อุลตร้าเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด | ทำความเข้าใจกับระดับความปลอดภัยของเครื่องวัดไฟฟ้า


ทำความเข้าใจกับระดับความปลอดภัยของเครื่องวัดไฟฟ้า

เครื่องมือวัดทางไฟฟ้านั้นถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานเฉพาะและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน การใช้งานที่เกินหรือแตกต่างไปจากข้อกำหนดการใช้งานทำให้การวัดค่าผิดพลาดและอาจเกิดอันตรายได้ ในงานวัดทางไฟฟ้ามีการแบ่งลักษณะเฉพาะของงานออกเป็น 4 กลุ่มหลัก เรียกว่า Measurement Category หรือ CAT ดังนี้

Measurement Category

  • CAT I : เป็นการวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจรที่ผ่านตัวป้องกันแล้ว เช่น ในเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังงานต่ำ, การวัดในวงจรที่ผ่านภาคจ่ายไฟแรงดันต่ำแล้ว

  • CAT II : เป็นการวัดไฟที่อุปกรณ์ที่ต่อผ่านจุดแจกจ่ายไฟในอาคาร เช่น ปลั๊กไฟ, หลอดไฟ, เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน, เครื่องมือไฟฟ้าแบบใช้สายถอดได้ เป็นต้น

  • CAT III : เป็นการวัดไฟฟ้าในอุปกรณ์ที่ติดตั้งโดยการต่อสายโดยตรงกับระบบ เช่น แผงควบคุมไฟฟ้า, เบรกเกอร์, สวิตช์, บัสบาร์, สายเคเบิ้ล, มอเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งกับที่

  • CAT IV : เป็นการวัดไฟฟ้าที่จุดจ่ายไฟเข้าระบบหรืออาคาร เป็นจุดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันหลัก

มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องวัดไฟฟ้าระบุเป็นแรงดัน Overvoltage Category หมายถึงแรงดันไฟฟ้าสูงสุด ที่เครื่องมือวัดทนทานได้โดยไม่เกิดความเสียหายให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ถูกวัด

voltage spike, transient

Measurement Category ใช้กำหนดความสามารถในการทนทานต่อแรงดันสไปก์ (voltage spike) หรือทรานเซียนต์ (transient) ที่ผ่านค่าความต้านทานที่กำหนด ระดับ Category ที่สูงหมายถึงมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแรงดันเกินที่จะทำความเสียหายแก่วงจรและอุปกรณ์ ระดับ CAT ที่สูงกว่าย่อมมีความปลอดภัยสูงกว่า ค่าแรงดันสไปก์หรือทรานเซียนต์สูงสุดของ Category ระดับต่างๆ แสดงดังตาราง

Measurement Category - Transient Voltage

ในการเลือก DMM, แคลมป์มิเตอร์ หรือเครื่องมือวัดไฟฟ้าสำหรับการใช้งานแต่ละอย่าง จึงต้องพิจารณาถึงระดับความปลอดภัย CAT ที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของเครื่องมือและตัวผู้ปฏิบัติงานด้วย